หัวข้อวิทยานิพนธ์ | การเปรียบเทียบภาพถ่ายรังสีกะโหลกศีรษะด้านข้างระหว่างโครงสร้างใบหน้าปกต และโครงสร้างใบหน้าที่มีขากรรไกรล่างยื่นในคนไทยกลุ่มหนึ่ง |
ชื่อนิสิต | นางสาว อัจฉรา มโนมัยพิบูลย์ |
อาจารย์ที่ปรึกษา | อาจารย์ สมศักดิ์ เจิ่งประภากร |
อาจารย์ที่ปรึกษาร่วม | - |
ภาควิชา | ทันตกรรมจัดฟัน |
ปีการศึกษา | 2532 |
วัตถุประสงค์ | ์การศึกษาวิจัยนี้เพื่อหาค่าเฉลี่ยของระยะทางและมุมที่วัดความสัมพันธ์ของส่วนต่าง
ๆ ของใบหน้าและ กะโหลกศีรษะจากภาพถ่ายรังสีกะโหลกศีรษะด้านข้างในคนไทยกลุ่มหนึ่งที่มีโครงสร้างใบหน้าปกติและ โครงสร้างใบหน้าที่มีขากรรไกรล่างยื่น เพื่อศึกษาความแตกต่างระหว่างโครงสร้างใบหน้าทั้งสองแบบ และศึกษาความแตกต่างระหว่างเพศ |
สรุปผลการวิจัย | ผลการวิจัยพบว่า มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญระหว่างค่าระยะทางและมุมของโครงสร้างใบหน้าปกติ
และโครงสร้างใบหน้าที่มีขากรรไกรล่างยื่นทั้งในเพศชายและเพศหญิง ความแตกต่างที่สำคัญที่สุดได้แก่
ค่า Wits, มุม ANB, ความโค้งนูนของใบหน้า (Convexity)และผลต่างระหว่างความยาวของ ขากรรไกรทั้งสอง(Co-Gn-Co-A difference) ความแตกต่างที่สำคัญรองลงมา ส่วนใหญ่พบในขากรรไกรล่าง ซึ่งเป็นค่าที่แสดงถึงตำแหน่งที่ยื่นมาข้างหน้าของขากรรไกรล่าง ได้แก่ Ramus Position, Pog to Na Perpendicular, SNB, Facial depth และ Facial axis รวมถึงค่าเฉลี่ยความยาวของขากรรไกรล่าง Co-Gnและ Corpus length การมีลักษณะโครงสร้างใบหน้าที่มีขากรรไกรล่างยื่นนี้ ยังเกี่ยวเนื่องกับการมีขากรรไกรบน ที่สั้น (Co-A) และการมีตำแหน่งที่ถอยไปทางข้างหลังของขากรรไกรบน (A to Nasion perpendicular, Maxillary depth และ SNA) ขณะเดียวกัน Porion location ที่อยู่ค่อนมาทางข้างหน้า, การโค้งงอเป็นมุมที่เล็กลงของฐานกะโหลกศีรษะ (N-S-Ar) และฐานกะโหลกที่สั้น (Na-Ba) ก็เป็นปัจจัยร่วมในการทำให้เกิดโครงสร้างใบหน้าที่ม ีขากรรไกรล่างยื่น เปอร์เซ็นต์ของความยาวใบหน้าส่วนหลังต่อความยาวใบหน้าส่วนหน้า ในกลุ่มโครงสร้างใบหน้าที่มีขากรรไกรล่างยื่น มีค่าน้อยกว่ากลุ่มปกติ ความแตกต่างนี้เกี่ยวเนื่องกับโครงสร้างใบหน้าที่มีขากรรไกรล่างยื่น ในกลุ่มตัวอย่างนี้ ส่วนมากมีการเจริญเติบโตในแนวดิ่งที่มากด้วย สอดคล้องกับการมี gonial angle ป้าน, ค่า Symphysis width น้อย Mandibular arc เล็ก และ Mandibular plane angle สูง พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญของค่าระยะทางและมุมระหว่างเพศชายและหญิงในโครงสร้างใหน้า ทั้ง 2 แบบ โดยส่วนใหญ่เพศชายมีค่าระยะทางมากกว่าหญิง ไม่พบความแตกตางของค่ามุมในขากรรไกรล่างระหว่างเพศชายและหญิงในกลุ่มโครงสร้างใบหน้า ที่มีขากรรไกรล่างยื่น เพศหญิงมีแนวโน้มของโครงสร้างใบหน้า ซึ่งมีการเจริญเติบโตในแนวดิ่ง มากกว่าเพศชายในโครงสร้างใบหน้าทั้ง 2 แบบ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติการหาค่าเฉลี่ย, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน, ค่าความคลาดเคลื่อนมาตรฐาน และสัมประสิทธ์การกระจาย ศึกษาความแตกต่างระหว่างโครงสร้างใบหน้า และความแตกต่างระหว่างเพศ ด้วยสถิติการทดสอบค่าเฉลี่ยที่ระดับนัยสำคัญ .001, .01 และ .05 |