หัวข้อวิทยานิพนธ์ | ผลของปัจจัยการเจริญเติบโตที่มีลักษณะคล้ายอินซูลินต่อการตอบสนองของกระดูกเบ้าฟัน ในหนูวิสตาร์เมื่อได้รับแรงเคลื่อนฟัน |
ชื่อนิสิต | นางสาว ชิดชนก หินแก้ว |
อาจารย์ที่ปรึกษา | ศาสตราจารย์ วัฒนะ มธุราสัย |
อาจารย์ที่ปรึกษาร่วม | ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สุพิศ จึงพาณิชย์ |
ภาควิชา | ทันตกรรมจัดฟัน |
ปีการศึกษา | 2538 |
วัตถุประสงค์ | เพื่อศึกษาผลของการฉีดไอจีเอฟ-I ต่อการตอบสนองทางจุลกายวิภาคศาสตร์ของกระดูกเบ้าฟันของหนูวิสตาร์ ที่มีอายุมาก ในสภาวะที่ได้รับแรงเคลื่อนฟัน |
วิธีการดำเนินงานวิจัย | กระทำการศึกษาในกลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วยหนูวิสตาร์เพศผู้ อายุ
9 เดือน จำนวน 6 ตัว จากภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โดยสุ่มแบ่งเข้ากลุ่มการทดลอง 2 กลุ่ม ๆ ละ 3 ตัว นำแผ่นยางที่มีความหนา 0.2 มิลลิเมตร มาแยกระหว่างฟันกรามบนซี่ที่หนึ่งและสอง ทั้งด้านซ้ายและขวา กลุ่มการทดลองกลุ่มที่ 1 ได้รับการฉีดไอจีเอฟ-I ปริมาณ 12 ไมโครกรับได้เยื่อบุด้านแก้มบริเวณรากด้านใกล้แก้ม ใกล้กลางของรากฟันกรามบนซี่ที่หนึ่งด้านซ้าย ในขณะที่รากฟันกรามบนซี่ที่หนึ่งด้านขวา ได้รับน้ำเกลือ 0.15 โมลต่อลิตร กลุ่มการทดลองที่ 2 จะมีสภาพที่เหมือนกับกลุ่มทดลองกลุ่มที่ 1 แต่ปราศจากยางยกฟัน กระทำการแยกฟันไว้ 3 วัน และทำการฆ่าสัตว์ทดลองทั้งหมด การตอบสนองทางจุลกายวิภาคศาสตร์ของกระดูกเบ้าฟันต่อไอจีเอฟ-I ทั้งที่มีแรงเคลื่อนฟัน และปราศจากแรงเคลื่อนฟัน ศึกษาจากแผ่นชิ้นเนื้อ ซึ่งตัดเรียงตามลำดับจากด้านใกล้แก้มไปยังด้านใกล้ลิ้น บริเวณกระดูกเบ้าฟันด้านใกล้กลางต่อรากใกล้แก้มใกล้กลางของฟันกรามบนซี่ที่หนึ่งทั้งด้านซ้ายและขวา นำสถิติวิเคราะห์ค่าที (student t-test) โดยคอมพิวเตอร์ มาเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของจำนวนออสติโอบลาสท์ และออสติโอคลาสท์ ระหว่างกระดูกเบ้าฟันที่ได้รับการฉีดไอจีเอฟ-I และน้ำเกลือ |
สรุปผลการวิจัย | มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในการตอบสนองทางจุลกายวิภาคศาสตร์ของกระดูกเบ้าฟัน ทั้งสองกลุ่มทดลอง ที่ระดับความเชื่อมั่น 0.05 |