หัวข้อวิทยานิพนธ์ การเปรียบเทียบกำลังแรงเฉือน/ปอก ในการยึดแบรกเก็ตโลหะกับผิวพอร์ซเลน
โดยใช้ไซเลนไพรเมอร์ต่างชนิดร่วมกับการเตรียมผิวพอร์ซเลน 3 วิธี
ชื่อนิสิต นายนพปฎล จันทร์ผ่องแสง
อาจารย์ที่ปรึกษา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ทันตแพทย์ กนก สรเทศน์
อาจารย์ที่ปรึกษาร่วม ดร. ชลธชา ห้านิรัติศัย
ภาควิชา ทันตกรรมจัดฟัน
ปีการศึกษา 2538
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ ศึกษาเปรียบเทียบค่ากำลังแรงเฉือน/ปอกในการยึด แบรกเก็ตโลหะบนผิวพอร์ชเลน
จำแนกตามการใช้ไชเลนไพรเมอร์ชนิดต่าง ๆ, การเตรียมผิวพอร์ชเลน 3 วิธี
และศึกษาผลกระทบร่วมของการใช้ไชเลนไพรเมอร์
และวิธีการเตรียมผิวพอร์ชเลน 3 วิธี ต่อค่ากำลังแรงเฉือน/ปอก
วิธีดำเนินงานวิจัย กลุ่มตัวอย่างเป็นชิ้นงานพอร์ชเลน 276 ชิ้น แบ่งเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มละ 90 ชิ้น
ทำการเตรียมผิวพอร์ชเลนด้วยวิธีต่าง ๆ ได้แก่ ขัดด้วยพิวมิสและทากรดไฮโดรฟลูออริก,
กรอด้วยกรีนสโตน และทากรดไฮโดรฟลูออริก, เป่าทรายและทากรดไฮโดรฟลูออริก จากนั้นนำกลุ่มตัวอย่างที่ผ่านการเตรียมผิวแต่ละวิธีไปทาไชเลนไพรเมอร์ 3 ชนิด ได้แก่
สก็อตช์ไพร์มเซรามิกไพรเมอร์, ออมโกพอร์ชเลนบอนดิ้งไพรเมอร์, เคลียร์พิลพอร์ชเลนบอนด
์ชนิดละ 30 ชิ้น จากนั้นติดแบรกเก็ตโลหะบนผิวพอร์ชเลนด้วยวัสดุยึดคอนไชส นำไปวัดค่า
กำลังแรงเฉือน/ปอกด้วยเครื่องทดสอบทั่วไป ในกลุ่มเปรียบเทียบทำการติดแบรกเก็ต
โลหะบนผิวเคลือบฟันด้านใกล้แก้มของฟันกรามน้อย 30 ซี่ นำไปวัดค่ากำลังแรงเฉือน/ปอก
ในการยึดติดแบรกเก็ตด้วยวิธีเดียวกันผลการทดสอบนำไปวิเคราะห์ทางสถิติ
วิเคราะห์ความแปร ปรวนรวม 2 ทาง (two way fixed effect ANOVA ที่ p < 0.05) และภายหลังการปฏิสมมติฐานใช้การวิเคราะห์ด้วยวิธีการเปรียบเทียบพหูคูณ (Multiple Comparison)
พอร์ชเลนที่เหลือ 6 ชิ้น นำไปเตรียมผิวด้วยวิธีต่าง ๆ วิธีละ 2 ชิ้น โดยไม่ทากรดไฮโดรฟลูออริก
จากนั้นทากรดไฮโดรฟลูออริกบนผิวพอร์ชเลนวิธีละ 1 ชิ้น นำไปเปรียบเทียบลักษณะพื้นผิว
ด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเลคตรอนแบบส่องกราด
สรุปผลการวิจัย ผลการวิจัยสรุปว่า ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติของค่ากำลังแรงเฉือน/ปอก
ในการยึดแบรกเก็ตโลหะกับผิวพอร์ชเลน จำแนกตามชนิดของไชเลนไพรเมอร์
มีความแตกต่างระหว่างวิธีการเตรียมผิวด้วยการกรอด้วยกรีนสโตนและทากรดไฮโดรฟลูออริก
กับวิธีการเป่าทราย และทากรด ไฮโดรฟลูออริก การใช้ไชเลนโพรเมอร์ต่างชนิดและการเตรียม
ผิวพอร์ชเลน 3 วิธี ไม่มีปฏิสัมพันธ์ต่อค่ากำลังแรงเฉือน/ปอก