หัวข้อวิทยานิพนธ์ การวิเคราะห์ลักษณะใบหน้าคนไทยทั้ง 3 แบบ โดยใช้เกณฑ์ของริกเกทส์
ชื่อนิสิต นางสาว ศศิธร สุธนรักษ์
อาจารย์ที่ปรึกษา รองศาสตราจารย์ วัฒนะ มธุราสัย
อาจารย์ที่ปรึกษาร่วม อาจารย์ สิงห์ อุตราภิรมย์สุข
ภาควิชา ทันตกรรมจัดฟัน
ปีการศึกษา 2526
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ การศึกษาวิจัยนี้เพื่อหาค่าเฉลี่ยของมุมและระยะทางที่วัดจากส่วนต่าง ๆ ของใบหน้าและ กะโหลกศีรษะในคนไทยที่มีลักษณะใบหน้าต่างกัน 3 แบบ ตามเกณฑ์ของริกเกทส์ เพื่อศึกษาความแตกต่างระหว่างโครงสร้างใบหน้าทั้ง 3 แบบ และศึกษาความแตกต่างระหว่างเพศ ประโยชน์ที่ได้รับจากการวิจัยนี้สามารถนำมาใช้เป็นแนวทางในการวินิจฉัยและวางแผนบำบัดรักษา
ผุ้ป่วยทาง ทันตกรรมจัดฟันได้ถูกต้องและเหมาะสมยิ่งขึ้น
วิธีดำเนินงานวิจัย เลือกกลุ่มตัวอย่างโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอนจากนักเรียนโรงเรียนต่าง ๆ ในกรุงเทพมหานคร เป็นนักเรียนชาย 250 คน และนักเรียนหญิง 250 คน อายุเฉลี่ยประมาณ 19 และ 18 ปีตามลำดับ มีลักษณะการสบฟันเป็นแบบปกติตาม Angle's Classification มีสุขภาพสมบูรณ์ และไม่เคยได้รับการบำบัดรักษาทางทันตกรรมจัดฟันมาก่อน นำกลุ่มตัวอย่างมาถ่ายภาพด้านข้างของกะโหลกศีรษะด้วยรังสีเอกซ์ จากนั้นวิเคราะห์ภาพถ่ายด้านข้างของกะโหลกศีรษะนั้นตามเกณฑ์ของริกเกทส์ กลุ่มตัวอย่างในแต่ละเพศ พิจารณาจำแนกเป็น 3 กลุ่ม ตามลักษณะโครงสร้างใบหน้าในแนวดิ่งโดยพิจารณาจากค่าดัชนีรวมในการวัด ซึ่งเกิดจากการรวมค่าทางสถิติของมุมที่ใช้พิจารณาโครงสร้างใบหน้าในแนวดิ่งตามเกณฑ์ของริกเกทส์ ซึ่งได้แก่ Lower face height, Facial axis, Facial depth, Mandibular plane angle และ Mandibular arc กำหนดให้กลุ่ม Dolichofacial มีค่าดัชนีรวมในการวัดน้อย มีจำนวนร้อยละ 15 ของจำนวนกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด กลุ่ม Brachyfacial มีค่าดัชนีรวมในการวัดมาก มีจำนวนร้อยละ 15 ของจำนวนกลุ่มตัวอย่างนี้ทั้งหมด และกลุ่ม Mesofacial มีค่าดัชนีรวมในการวัดอยู่ระหว่างกลุ่ม Dolichofacial และ Brachyfacial มีจำนวนร้อยละ 70 ของกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด
สรุปผลการวิจัย พบว่ากลุ่ม Dolichofacial มีตำแหน่งขากรรไกรบนและล่างเมื่อเทียบกับ
ฐานกะโหลกศีรษะมีแนวโน้มถอยไปทางด้านหลัง Facial axis มีค่าน้อย ซึ่งแสดงว่าขากรรไกรล่างมีทิศทางการเจริญเติบโตในแนวดิ่ง ใบหน้าด้านข้างมีลักษณะโค้งนูน ร่วมกับมีลักษณะของฟันหน้าบนยื่นมาทาง ด้านหน้ามากกว่า และระนาบของการสบฟันมีลักษณะ
เอียงทำมุมกับ Corpus axis มากกว่ากลุ่ม Mesofacial และ Bracnyfacial สำหรับ Soft tissue พบว่าริมฝีปากล่างอยู่ค่อนมาทางด้านหน้า มากกว่าลักษณะใบหน้าอีก 2 แบบ เมื่อเทียบกับ E plane กลุ่ม Brachyfacial มีลักษณะตรงข้ามกับกลุ่ม Dolichofacial ค่าเฉลี่ยของมุมและระยะทางที่วัดจากส่วนต่าง ๆ ของใบหน้าและกะโหลกศีรษะแตกต่างกันตามกลุ่มลักษณะใบหน้าและเพศ เพื่อพิสูจน์ว่าระนาบแฟรงค์ฟอร์ดขนานกับระนาบอ๊อพติกในคนเพศชายหญิงที่มีอายุต่างกัน และในกะโหลกศีรษะแห้งของชายและหญิง ซึ่งมีการเจริญเติบโตสมบูรณ์เต็มที่ ที่ระดับ นัยสำคัญ .01 ความรู้ที่ได้จากการวิจัยนี้สามารถใช้ระนาบอ๊อพติกเป็นหลักในการกำหนดระนาบ แฟรงค์ฟอร์ต เพื่อให้การวิเคราะห์โครงสร้างใบหน้าที่ใช้ระนาบแฟรงค์ฟอร์ตเป็นระนาบอ้างอิง ถูกต้องยิ่งขึ้น และเป็นความรู้พื้นฐานในการศึกษาวิจัยต่อไป